วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ปัญหาวัยรุ่นกับเพศสัมพันธ์

ปัญหาวัยรุ่นกับเพศสัมพันธ์
    อารมณ์ทางเพศที่เกิดขึ้นในช่วงการเข้าสู่วัยรุ่นเป็นพัฒนาการอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความพร้อมของร่างกายที่จะสืบทอดและดำรงไว้ซึ่งเผ่าพันธุ์ โดยมี สิ่งเร้าสำคัญใน 2 ลักษณะประกอบด้วย ลักษณะของปัจจัยที่เป็นสิ่งเร้าภายใน(intrinsic stimulus) และลักษณะของปัจจัยที่เป็นสิ่งเร้าภายนอก (extrinsic stimulus)
ลักษณะของปัจจัยที่เป็นสิ่งเร้าภายนอก
   ปัจจัยที่เป็นสิ่งเร้าภายนอก หมายถึง สภาพแวดล้อมภา
ยนอกต่างๆที่สามารถกระตุ้นผู้ที่รับรู้ให้เกิดอารมณ์ทางเพศขึ้น ซึ่งสิ่งเร้าเหล่านี้มีหลายรูปแบบ ได้แก่
1. สื่อรูปแบบต่างๆ
   ในปัจจุบันมีสื่อหลากหลายรูปแบบที่กระตุ้นให้วัยรุ่นเกิดอารมณ์ทางเพศ โดยเฉพาะสื่อทางเพศ เป็นสื่อที่นำเสนอภาพหรือข้อมูลที่ให้ความรู้เรื่องเพศ มีทั้งสื่อที่สร้างสรรค์และไม่สร้างสรรค์
สื่อที่สร้างสรรค์ คือ สื่อที่ให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องเพศ ได้แก่ การมีเพศสัมพันธ์ที่ถูกวิธี การป้องกันตนเองจากการตั้งครรภ์ เป็นต้น ส่วนสื่อที่ไม่สร้างสรรค์แบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ คือ ระดับของสื่อทางเพศที่ห้ามมีการเผยแพร่ในสังคมไทยอย่างเด็ดขาด ส่วนระดับที่สอง เป็นสื่อทางเพศที่ต้องห้ามเนื่องจากเป็นผลมาจากศีลธรรมอันดีงามของสังคมไทยความหลากหลายของสื่อที่กล่าวมาข้างต้นนั้น วัยรุ่นบางคนก็ไม่สามารถแยกแยะสื่อที่สร้างสรรค์กับสื่อที่มาสร้างสรรค์ได้ จึงได้รับเอาข้อมูลเรื่องเพศมากจากสื่อทั้งสองประเภท สื่อที่ไม่สร้างสรรค์จึงมีการผลิตและเผยแพร่มากขึ้นทุกวัน ทั้งในรูปแบบหนังสือและวารสารต่างๆ สื่อที่อยู่ในรูปของภาพยนตร์ก็มี และที่สำคัญอย่างยิ่งคือ ปัจจุบัน ระบบอินเทอร์เน็ตได้ถูกนำมาใช้เป็นสื่อทางเพศอีกช่องทางหนึ่ง บางกรณีก้นำเสนอผ่านเว็บไซต์ บางกรณีก็นำเสนอในรูปแบบเกมออนไลน์ และจะเห็นได้ว่า ระบบนี้บางทีก็ขาดการดูแล และการจัดการที่ดี จึงทำให้มีการเผยแพร่ลุกลามอย่างรวดเร็ว นอกจากจะยั่วยุและกระตุ้นให้วัยรุ่นเกิดอารมณ์ทางเพศได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นแล้ว ยังอาจนำไปสู่การมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศอีกด้วยจากความสำคัญของสื่อในรูปแบบต่างๆที่กล่าวมา อาจกล่าวได้ว่า สื่อที่กล่าวมาจัดเป็นสิ่งเร้าภายนอกที่สำคัญ ซึ่งผู้เกี่ยวข้องตลอดจนวัยรุ่นต้องให้ความสำคัญในการระมัดระวังในการเลือกรับสื่อที่ถูกประเภทด้วย

2. สภาพทางสังคมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป
   ในปัจจุบันคงต้องยอมรับกันว่า สภาพทางสังคมและวัฒนธรรมไทยได้เปลี่ยนไป เนื่องจากมีการรับเอาวัฒนธรรมของชาติตะวันตกให้มามีบทบาทในการดำเนินชีวิตประจำวันมากขึ้น ทำให้วัยรุ่นไทยมีความกล้าแสดงออกมากขึ้น ทั้งทางด้านการแต่งกาย การคบเพื่อนต่างเพศ ซึ่งมีอิสระมากขึ้น นอกจากนี้ ปัจจุบันสภาพของครอบครัวไทยเปลี่ยนไป ผู้ปกครองมีเวลาใกล้ชิดกับบุตรหลานน้อยลง ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพของภาวะทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังพบว่า ความมีอิสระของสื่อต่อการนำเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเพศ สิ่งต่างๆเหล่านี้จัดได้ว่าเป็นสิ่งเร้าภายนอกที่สำคัญที่สามารถจะเร้าและกระตุ้นให้วัยรุ่นเกิดความต้องการทางเพศขึ้นได้ โดยเฉพาะหากขาดการดูแลและการควบคุมที่ถูกต้องเหมาะสม
3. ค่านิยมและประพฤติที่ไม่เหมาะสมในบางลักษณะของวัยรุ่น
   ควบคุมอารมณ์ผลจากสภาพทางสังคมและวัฒนธรรมทางสังคมไทยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศที่เปลี่ยนไป สางผลให้วัยรุ่นไทยเกิดค่านิยมและมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในหลายลักษณะ เป็นต้นว่า ค่านิยมในเรื่องการแต่งกายตามสมัยนิยม (Fashion) ที่มากเกินไปของวัยรุ่น โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น เช่น การสวมเสื้อผ้าที่รัดรูปทำให้เห็นส่วนเว้าส่วนโค้ง หรือการเปิดเผยสัดส่วนของร่างกายมากเกินไปของเพศหญิง ซึ่งการแสดงออกดังกล่าวอาจกระตุ้นและยั่วยุให้เพศชายเกิดความอารมณ์ทางเพศได้ นอกจากนี้ยังพบว่า วัยรุ่นมักจะมีค่านิยมเกี่ยวกับความต้องการในการแสดงออกโดยอิสระ เป็นต้นว่า การเที่ยวเตร่ในเวลากลางคืน การสัมผัสร่างกายของเพศตรงข้ามหรือการจับมือถือแขน กอดจูบกันในที่สาธารณะ การอยู่ลำพังสองต่อสอง หรือการไม่ให้ความสำคัญเรื่องการรักษาพรหมจรรย์ ฯลฯ ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ถือว่าเป็นปัจจัยภายนอกที่สำคัญมากๆเพราะถือว่าเป็นความคิดของวัยรุ่นที่เป็นวัยที่อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ถ้าได้รับการเรียนรู้มาแบบผิดๆ และไม่สามารถควบคุมอารมณ์ทางเพศไว้ได้ก็อาจทำให้เกิดความผิดพลาดครั้งยิ่งใหญ่ของชีวิตเลยก็ได้ วัยรุ่นจึงควรตระหนักในการควบคุมอารมณ์ทางเพศให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม และควรมีสติยั้งคิดอยู่ตลอดเวลาด้วย

โทษต่อร่างกาย

วิธีการป้องกัน
แนวทางการปฏิบัติเพื่อระงับอารมณ์ทางเพศ หมายถึง ความพยายามในการที่จะหลีกเลี่ยงต่อสิ่งเร้าภายนอกที่มากระตุ้นให้เกิดอารมณ์ทางเพศที่เพิ่มมากขึ้น
   1. หลีกเลี่ยงการดูหนังสือหรือภาพยนตร์หรือสื่อ Internet ที่มีภาพหรือข้อความที่แสดงออกทางเพศซึ่งเป็นการยั่วยุให้เกิดอารมณ์ทางเพศ
   2. หลีกเลี่ยงการปฏิบัติหรือทำตัวปล่อยวางให้ความสบายเกินไป เช่น การนอนเล่นๆโดยไม่หลับ การนั่งฝันกลางวันหรือนั่งจินตนาการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ การอยู่ในสภาพของบรรยากาศที่มีแสงสีที่ก่อหรือปลุกเร้าอารมณ์ทางเพศ
   3. เหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดโอกาสการถูกสัมผัสในลักษณะต่างๆกับเพศตรงข้ามซึ่งการกระทำดังกล่าวมักก่อให้เกิดอารมณ์ทางเพศได้ เช่นการจับมือถือแขน [10%] การกอดจูบ [60%] การลูบคลำ [80%] การเล้าโลม [100%]
   4. หลีกเลี่ยงและรู้จักปฏิเสธเมื่อถูกชักชวนให้เที่ยวเตร่พักผ่อนในแนวทางกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ทางเพศ เช่น สถานที่ท่องเที่ยวกลางคืน การดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มมึนเมาต่างๆ ซึ่งสามารถนำพาไปสู่การเกิดอารมณ์ทางเพศได้
แนวทางการปฏิบัติเพื่อผ่อนคลายความต้องการทางเพศ
   การปฏิบัติเพื่อผ่อนคลายความต้องการทางเพศ ในที่นี้หมายถึง กานผ่อนคลายความเครียดทางอารมณ์ที่เกิดมาจากความต้องการทางเพศซึ่งเป็นผลมาจากสิ่งเร้าต่างๆ ด้วยวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสมโดยไม่ส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่นและสุขภาพของผู้ปฏิบัติ
วิธีการปฏิบัติโดยทั่วไป อาจมี 2 ลักษณะ ประกอบด้วย วิธีการผ่อนคลายความต้องการทางเพศด้วยการเบี่ยงเบนทางอารมณ์ และวิธีการผ่อนคลายความต้องการทางเพศด้วยการบำบัดความใคร่ด้วยตนเอง

1. การผ่อนคลายความต้องการทางเพศด้วยการเบี่ยงเบนอารมณ์ทางเพศ
   การเบี่ยงเบนอารมณ์ทางเพศ หมายถึง การใช้แนวทางในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆเพื่อหันเหความสนใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเพศ ลดพลังความต้องการทางเพศที่เกิดขึ้นในช่วงวัยดังกล่าวให้ลดลงการเบี่ยงเบนอารมณ์ทางเพศปฏิบัติได้หลายลักษณะ เช่น การออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาทุกวัน การเรียนหรือการทำงาน เข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ หรือร่วมในกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคมตามโอกาสที่เหมาะสม ฯลฯ โดยการปฏิบัติที่กล่าวมาจะช่วยให้มีความเพลิดเพลินและผ่อนคลายความตึงเครียดของอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้
2. การผ่อนคลายความต้องการทางเพศด้วยการบำบัดความใคร่ด้วยตนเอง
   การบำบัดความใคร่ด้วยตนเองหมายถึง การผ่อนคลายความต้องการทางเพศด้วยการจงใจกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกทางเพศในตนเองด้วยการกระตุ้นบนส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายก็ได้
การบำบัดความใคร่ด้วยตนเองนี้ นักจิตวิทยาส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า ไม่มีผลร้ายแยงต่อสุขภาพ แต่การบำบัดด้วยวิธีการที่ถูกต้องเหมาะสมยังส่งผลให้สุขภาพทางกายและทางจิตของบุคคลดีขึ้นได้อีกด้วย แต่ก็ไม่ควรปฏิบัติบ่อยจนเกิดความหมกมุ่นในเรื่องดังกล่าว ซึ่งก่อให้เกิดเป็นลักษณะนิสัยที่อาจส่งผลลบต่อบุคลิกภาพและความเข้มแข็งทางด้านการ
ที่ดีได
   ๑. ปัญหากามโรค โสเภณีเป็นสาเหตุสำคัญในการแพร่กามโรค
   ๒. ปัญหาความเสื่อมทรามทางศีลธรรม เกิดการเอารัดเอาเปรียบ เกิดการล่อลวง
   ๓. ปัญหาทางด้านอาชญากรรม แหล่งการค้าประเวณีมักเป็นที่มั่วสุมของนักเลง อันธพาล นักเลง
สุรา นักการพนัน และนักท่องเที่ยวที่มาแสวงหาความสุขในอบายมุข
   ๔. ปัญหาโรคเอดส์ เป็นปัญหาที่เกิดในสังคมไทย เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๑ และปัจจุบันได้เพิ่ม
ความรุนแรงมากขึ้น ผู้ที่เป็นโรคเอดส์ ถ้าไม่ตายด้วยโรคนี้ก็อาจฆ่าตัวตายดังจะอ่านพบได้ในหน้าหนังสือพิมพ์
   ๕. ปัญหาเด็กเกิดจากโสเภณี เด็กที่เกิดจากโสเภณีย่อมมีปมด้อย เพราะไม่รู้ว่าใครเป็นพ่อ และแม่ ก็มีอาชีพที่สังคมรังเกียจ

ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/health04/13/2/html/html4.htm

ยาเสพติดมีผลอย่างไร

ความหมายของยาเสพติด ยาเสพติดให้โทษ หรือสิ่งเสพติดหมายถึง ยาหรือสารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายแล้วไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือวิธีใดก้ตาม ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ ดังนี้
1.
ต้องการยาเสพติดตลอดเวลา แสดงออกทางร่างกายและจิตใจ
2.
ต้องเพิ่มขนาดของยาเสพติดมากขึ้น
3.
มีอาการหยากหรือหิวยาเมื่อขาดยา (บางท่านจะมีอาการถอนยาเมื่อขาดยา)
4.
สุขภาพทั่วไปทรุดโทรม
ถ้าพบเห็นบุคคลที่มีพฤติกรรม 4 ประการ ให้พึงสังเกตว่าอาจจะเป็นคนที่ใช้ยาเสติด
        ประเภทของยาเสพติด
ปัจจุบันสิ่งเสพติดหรือยาเสพติดให้โทษมีหลายประเภท อาจจำแนกได้หลายเกณฑ์ นอกจากแบ่งตามแหล่งที่มาแล้ว ยังแบ่งตามการออกฤทธิ์และแบ่งตามกำกฎหมายดังนี้
ก.จำแนกตามสิ่งเสพติดที่มา
1.
ประเภทที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน กระท่อม กัญชา
2.
ประเภทที่ได้จากการสังเคราะห์ เช่น เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาม้า แอมเฟตามีน สารระเหย
ข.จำแนกสิ่งเสพติดตามกฎหมาย
1.
ประเภทถูกกฎหมาย เช่น ยาแก้ไอน้ำดำ บุหรี่ เหล้า กาแฟ ฯลฯ
2.
ประเภทผิดกฎหมาย เช่น มอร์ฟีน ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา กระท่อม แอมเฟตามีน ฯลฯ
ค.การจำแนกสิ่งเสพติดตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง
1.
ประเภทกดประสาท เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยากล่อมประสาท ยาระงับประทสาท ยานอนหลับ สารระเหย เครื่องดื่มมึนเมา เช่นเหล้า เบียร์ ฯ
2.
ประเภทกระตุ้นประสาท เช่น แอมเฟตามีน ยาม้า ใบกระท่อม บุหรี่ กาแฟ โคคาอีน
3.
ประเภทหลอนประสาท เช่น แอล เอส ดี,เอส ที พี,น้ำมันระเหย
4.
ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน อาจกด กระตุ้น หรือหลอนประสาทผสมรวมกันได้แก่ กัญชา
        สาเหตุที่ทำให้เกิดยาเสพติด
 1.
ติดเพราะฤทธิ์ของยา เมื่อร่างกายมนุษย์ได้รับยาเสพติดเข้าไปฤทธิ์ของยาเสพติดจะทำให้ระบบต่างๆของร่างกายเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งถ้าการใช้ยาไม่บ่อยหรือนานครั้ง ไม่ค่ยมีผลต่อร่างกาย แต่ถ้าใช้ติดต่อเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งจะทำให้มีผลต่อร่างกายและจิตใจ มีลักษณะ 4 ประการ คือ
1.1
มีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะเสพยาหรือสารนั้นอีกต่อไปเรื่อๆ
1.2
มีความโน้มเอียงที่จะเพิ่มปริมาณของยาเสพติดขึ้นทุดขณะ
1.3
ถ้าถึงเวลาที่เกิดความต้องการแล้วไม่ได้เสพ จะเกิดอาการอยากยา หรืออาการขาดยา เช่น หาว อาจียน น้ำตาน้ำมูกไหล ทุรนทุราย คลุ้มคลั้ง โมโห ขาสติ
1.4
ยาที่เสพนั้นจะไปทำลายสุขภาพของผู้เสพทั้งร่างกาย ทำให้ซูบผอม มีโรคแทรกซ้อน และทางจิตใจ เกิดอาการทางประสาท จิตใจไม่ปกติ
 2.
ติดยาเสพติดเพราะสิ่งแวดล้อม
2.1
สภาพแวดล้อมภายนอกของบ้านที่อยู่อาศัย เต้มไปด้วยแหล่งค้ายาเสพติด เช่น ใกล้บรเวณศูนย์การค้า หน้าโรงหนัง ซึ่งเป็นการซื้อยาเสพติดทุกรูปแบบ
2.2
สิ่งแวดล้อมภายในบ้านขาดความอบอุ่น รวมไปถึงปัญหาชีวิตคนในครอบครัวและฐานะทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมจะทำให้เด้กหันไปพึ่งยาเสพติด การขาดความเอาใจใส่ดูแลจากพ่อแม่ และขาดการยอมรับจากครอบครัว เด็กจะหันไปคบเพื่อนร่อมกลุ่มเพื่อต้องการความอบอุ่น สภาพของกลุ่มเพื่อน สภาพของเพื่อนบ้านใกล้เคียง
2.3
สิ่งแวดล้อมทางโรงเรียน เด็กมีปัญหาทางการเรียน เนื่องจากเรียนไม่ทันเพื่อน เบื่อครู เบื่อโรงเรียน ทำให้หนีโรงเรียนไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ตนพอใจ เป็นเหตุให้ตกเป็นเหยื่อของการติดยาเซบติด
3.
ติดเพราะความผิดปกติทางร่างกายและจิตใจ
ในสังคมที่วุ่นวายสับสน เปลี่ยนแปลงรวดเร้วดังเช่นปัจจุบัน ทำให้จิตใจผิดปกติง่าย หากเป็นบุคคลที่มีบุคลิกภาพอ่อนแอในทุกด้าน ทั้งอารมณ์และสติปัญญา รวมทั้งร่างกายไม่สมบูรณ์แข็งแรงก็จะหาสิ่งยึดเหนี่ยว จะตกเป้นทาสยาเสพติดได้ง่าย ผู้ที่มีอารมณ์วู่วามไม่ค่อยยั้งคิดจะหันเข้าหายาเสพติดเพื่อระงับอารมณ์วู่วามของตน เนื่องจากยาเสพติดมีคุณสมบัติในการกดประสาทและกระตุ้นประสาท ผู้มีจิตใจมั่นคง ขาดความมั่นใจ มีแนวโน้มในการใช้ยาเพื่อบรรเทาความวิตกกังวลของตนให้หมดไปและมีโอกาสติดยาได้ง่ายกว่าผู้อื่น
       วิธีสังเกตผู้ติดยาหรือสารเสพติด
1.
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย สุขภาพทรุดโทรม ผอมซีด ทำงานหนักไม่ไหว ริมฝีปากเขียวคล้ำและแห้ง ร่างกายสกปรกมีกลิ่นเหม็น ชอบใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ใส่แว่นดำเพื่อปกปิด
2.
การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ อารมณ์หงุดงิดง่าย พูดจาร้าวขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มั่วสุมกับคนที่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับยาเสพติด สุบบุหรี่จัด มีอุปกรณ์เกี่ยวกับยาเสพติด หน้าตาซึมเศร้า ขาดความเชื่อมั่น จิตใจอ่อนแอ ใช้เงินเปลือง สิ่งของภายในบ้านสูญหายบ่อย
3.
แสดงอาการอยากยาเสพติด ตัวสั่น กระตุก ชัก จาม น้ำหมูกไหล ท้องเดิน ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดที่เรียกว่า "ลงแดง" มีไข้ปวดเมื่อยตามร่างกายอย่างรนแรงนอนไม่หลับ ทุรนทุราย
4.
อาสัยเทคนิคทางการแพทย์ โดยการเก็บปัสสาวะบุคคลที่สงสัยว่าจะติดยาเสพติดส่งตรวจ ใช้ยาบางชนิดที่สามารถล้างฤทธิ์ของยาเสพติด
 ที่มา http://www.dekgeng.com/thai/conp/7536.htm

วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วันแม่แห่งชาติ
วันแม่แห่งชาติ

วันแม่แห่งชาติ ทุกวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี
        วันแม่แห่งชาติ หรือที่คนไทยทั่วไปนิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า "วันแม่" ทุกคนรับทราบและซาบซึ้งกันดี เนื่องจากวันสำคัญนี้ตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถคือ วันที่ 12 สิงหาคม อันเป็นวันคล้ายวันเสด็จพระราชสมภพและถือว่าเป็นวันแม่ของชาติด้วย
        แต่เดิมนั้น วันแม่ของชาติได้กำหนดเอาไว้วันที่ 15 เมษายนของทุก ๆ ปี ทั้งนี้เป็น 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2493 ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงาน วันแม่ มาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2493 เป็นครั้งแรกเป็นต้นมานั้นได้รับความสำเร็จด้วยดี ด้วยประชาชนให้การสนับสนุนจนสามารถขยายขอบข่ายของงานให้กว้างขวางออกไป มีการจัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา การประกวดคำขวัญวันแม่ การประกวดแม่ของชาติ เพื่อให้เกียรติและตระหนักในความสำคัญของแม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญของวันแม่ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของรัฐบาลฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม แต่โดยทั่วไปเรียกกันว่าวันแม่ของชาติ
        ต่อมาถึง พ.ศ.2519 ทางราชการได้เปลี่ยนใหม่ให้ถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เริ่มในปี พ.ศ.2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
        วันแม่แห่งชาติ เป็นวันที่ทางราชการกำหนดในวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี และถือว่าเป็นวันสำคัญยิ่งของปวงชนชาวไทย โดยกำหนดให้ถือว่า "ดอกมะลิ" สีขาวบริสุทธิ์เป็นสัญลักษณ์ของความดีงามของแม่ผู้ให้กำเนิดแก่เรา

ไปตามมติของคณะรัฐมนตรีประกาศรับรอง เมื่อวันที่
กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันแม่แห่งชาติ 
1.       ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน 
2.        จัดกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับวันแม่ เช่น การจัดนิทรรศการ
3.       จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศล เพื่อรำลึกถึงพระคุณของแม่
4.       นำพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบขอพรจากแม่


วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วันแม่

วันแม่แห่งชาติ (12 สิงหาคม)
วันแม่แห่งชาติ (12 สิงหาคม)
วันแม่แห่งชาติ
ทุกวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี
        วันแม่แห่งชาติ หรือที่คนไทยทั่วไปนิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า "วันแม่" ทุกคนรับทราบและซาบซึ้งกันดี เนื่องจากวันสำคัญนี้ตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถคือ วันที่ 12 สิงหาคม อันเป็นวันคล้ายวันเสด็จพระราชสมภพและถือว่าเป็นวันแม่ของชาติด้วย
        แต่เดิมนั้น วันแม่ของชาติได้กำหนดเอาไว้วันที่ 15 เมษายนของทุก ๆ ปี ทั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีประกาศรับรอง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2493 ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงาน วันแม่ มาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2493 เป็นครั้งแรกเป็นต้นมานั้นได้รับความสำเร็จด้วยดี ด้วยประชาชนให้การสนับสนุนจนสามารถขยายขอบข่ายของงานให้กว้างขวางออกไป มีการจัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา การประกวดคำขวัญวันแม่ การประกวดแม่ของชาติ เพื่อให้เกียรติและตระหนักในความสำคัญของแม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญของวันแม่ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของรัฐบาลฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม แต่โดยทั่วไปเรียกกันว่าวันแม่ของชาติ
        ต่อมาถึง พ.ศ.2519 ทางราชการได้เปลี่ยนใหม่ให้ถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เริ่มในปี พ.ศ.2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
        วันแม่แห่งชาติ เป็นวันที่ทางราชการกำหนดในวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี และถือว่าเป็นวันสำคัญยิ่งของปวงชนชาวไทย โดยกำหนดให้ถือว่า "ดอกมะลิ" สีขาวบริสุทธิ์เป็นสัญลักษณ์ของความดีงามของแม่ผู้ให้กำเนิดแก่เรา
กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันแม่แห่งชาติ 
  1. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน 
  2.  จัดกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับวันแม่ เช่น การจัดนิทรรศการ
  3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศล เพื่อรำลึกถึงพระคุณของแม่
  4. นำพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบขอพรจากแม่
2.        จัดกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับวันแม่ เช่น การจัดนิทรรศการ
3.       จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศล เพื่อรำลึกถึงพระคุณของแม่
4.       นำพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบขอพรจากแม่

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การป้องกันยาเสพติด


     การป้องกันการติดยาเสพติด
       ๑. ป้องกันตนเอง ไม่ใช้ยาโดยมิได้รับคำแนะนำจากแพทย์ และจงอย่าทดลอง เสพยาเสพติด ทุกชนิดโดยเด็ดขาด เพราะ ติดง่ายหายยาก
      ๒. ป้องกันครอบครัว ควรสอดส่องดูแลเด็กและบุคคลในครอบครัวหรือที่อยู่รวมกันอย่าให้ กี่ยวข้องกับยาเสพติด ต้อง คอยอบรมสั่งสอนให้รู้ถึงโทษและภัยของยา-เสพติด หากมีผู้เสพ ยาเสพติด ในครอบครัวจงจัดการให้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล ให้หายเด็ดขาดการรักษาแต่แรก เริ่มติดยาเสพติด มีโอกาสหายได้เร็วกว่าที่ปล่อยไว้นานๆ
      ๓. ป้องกันเพื่อนบ้าน โดยช่วยชี้แจงให้เพื่อนบ้านเข้าใจถึงโทษและภัยของยาเสพติด โดยมิให้ พื่อนบ้าน รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ต้องถูกหลอกลวง และหากพบว่าเพื่อนบ้านติด ยาเสพติดจงช่วย แนะนำให้ ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล
       ๔. ป้องกันโดยให้ความร่วมมือกับทางราชการ เมื่อทราบว่าบ้านใดตำบลใด มียาเสพติดแพร่ ่ระบาดขอให้แจ้ง เจ้าหน้าที่ ตำรวจทุกแห่งทุกท้องที่ทราบ หรือที่ศูนย์ปราบปรามยาเสพติด ให้โทษ กรมตำรวจ (ศปส.ตร.) โทร. 2527962 , 0-252-5932 และที่สำนักงาน คณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) สำนักนายกรัฐมนตรี
โทร. 2459350-9                       ยาเสพติดป้องกันได้        ๑. ป้องกันตนเอง ทำได้โดย..
          • ศึกษาหาความรู้ เพื่อให้รู้เท่าทันโทษพิษภัยของยาเสพติด
          • ไม่ทดลองใช้ยาเสพติดทุกชนิดและปฏิเสธเมื่อถูกชักชวน
          • ระมัดระวังเรื่องการใช้ยา เพราะยาบางชนิดอาจทำให้เสพติดได้
          • ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
          • เลือกคบเพื่อนดี ที่ชักชวนกันไปในทางสร้างสรรค์
          • เมื่อมีปัญหาชีวิต ควรหาหนทางแก้ไขที่ไม่ข้องเกี่ยวกับยาเสพติด หากแก้ไขไม่ได้ควร
ปรึกษา ผู้ใหญ่
         ๒. ป้องกันครอบครัว ทำได้โดย
           • สร้างความรัก ความอบอุ่นและความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกในครอบครัว
           • รู้และปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง
           • ดูแลสมาชิกในครอบครัว ไม่ให้ข้องเกี่ยวกับยาเสพติด
           • ให้กำลังใจและหาทางแก้ไข หากพบว่าสมาชิกในครอบครัวติดยาเสพติด
         ๓. ป้องกันชุมชน ทำได้โดย
           • ช่วยชุมชนในการต่อต้านยาเสพติด
           • เมื่อทราบแหล่งเสพ แหล่งค้า หรือผลิตยาเสพติด ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทันที
ที่...
           • สำนักงาน ป.ป.ส. โทร. 02-2459414 หรือ 02-2470901-19 ต่อ 258
โทรสาร 02-2468526
           • ศูนย์รับแจ้งข่าวยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โทร. 1688
  

     การป้องกันการติดยาเสพติด        ๑. ป้องกันตนเอง ไม่ใช้ยาโดยมิได้รับคำแนะนำจากแพทย์ และจงอย่าทดลอง เสพยาเสพติด ทุกชนิดโดยเด็ดขาด เพราะ ติดง่ายหายยาก
     
๒. ป้องกันครอบครัว ควรสอดส่องดูแลเด็กและบุคคลในครอบครัวหรือที่อยู่รวมกันอย่าให้ กี่ยวข้องกับยาเสพติด ต้อง คอยอบรมสั่งสอนให้รู้ถึงโทษและภัยของยา-เสพติด หากมีผู้เสพ ยาเสพติด ในครอบครัวจงจัดการให้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล ให้หายเด็ดขาดการรักษาแต่แรก เริ่มติดยาเสพติด มีโอกาสหายได้เร็วกว่าที่ปล่อยไว้นานๆ
     
๓. ป้องกันเพื่อนบ้าน โดยช่วยชี้แจงให้เพื่อนบ้านเข้าใจถึงโทษและภัยของยาเสพติด โดยมิให้ พื่อนบ้าน รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ต้องถูกหลอกลวง และหากพบว่าเพื่อนบ้านติด ยาเสพติดจงช่วย แนะนำให้ ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล
      
๔. ป้องกันโดยให้ความร่วมมือกับทางราชการ เมื่อทราบว่าบ้านใดตำบลใด มียาเสพติดแพร่ ่ระบาดขอให้แจ้ง เจ้าหน้าที่ ตำรวจทุกแห่งทุกท้องที่ทราบ หรือที่ศูนย์ปราบปรามยาเสพติด ให้โทษ กรมตำรวจ (ศปส.ตร.) โทร. 2527962 , 0-252-5932 และที่สำนักงาน คณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) สำนักนายกรัฐมนตรี โทร. 2459350-9
                      ยาเสพติดป้องกันได้
      
๑. ป้องกันตนเอง ทำได้โดย..
          •
ศึกษาหาความรู้ เพื่อให้รู้เท่าทันโทษพิษภัยของยาเสพติด
          •
ไม่ทดลองใช้ยาเสพติดทุกชนิดและปฏิเสธเมื่อถูกชักชวน
          •
ระมัดระวังเรื่องการใช้ยา เพราะยาบางชนิดอาจทำให้เสพติดได้
          •
ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
          •
เลือกคบเพื่อนดี ที่ชักชวนกันไปในทางสร้างสรรค์
          •
เมื่อมีปัญหาชีวิต ควรหาหนทางแก้ไขที่ไม่ข้องเกี่ยวกับยาเสพติด หากแก้ไขไม่ได้ควร
ปรึกษา ผู้ใหญ่
        
๒. ป้องกันครอบครัว ทำได้โดย
           •
สร้างความรัก ความอบอุ่นและความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกในครอบครัว
           •
รู้และปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง
           •
ดูแลสมาชิกในครอบครัว ไม่ให้ข้องเกี่ยวกับยาเสพติด
           •
ให้กำลังใจและหาทางแก้ไข หากพบว่าสมาชิกในครอบครัวติดยาเสพติด
        
๓. ป้องกันชุมชน ทำได้โดย
           •
ช่วยชุมชนในการต่อต้านยาเสพติด
           •
เมื่อทราบแหล่งเสพ แหล่งค้า หรือผลิตยาเสพติด ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทันที ที่...
           •
สำนักงาน ป.ป.ส. โทร. 02-2459414 หรือ 02-2470901-19 ต่อ 258 โทรสาร 02-2468526
           •
ศูนย์รับแจ้งข่าวยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โทร. 1688    ที่มา  http://203.172.184.9/wbi3/ya_10.htm